การเขียนคำร้อง
มรพส. 1 คำร้องขอรักษาสภาพ, คำร้องขอคืนสภาพ
Download คำร้อง มรพส. 1
การขอรักษาสภาพ : เป็นกรณีที่นักศึกษายังไม่ชำระเงินค่าลงทะเบียน และประสงค์ขอรักษาสภาพในภาคเรียนหนึ่งๆ
การคืนสภาพนักศึกษา : เป็นกรณีที่นักศึกษาไม่ได้ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนใดภาคเรียนหนึ่ง แต่ยังไม่ครบจำนวนภาคเรียน ตามข้อ 22.3 ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2549
การรักษาสภาพ
นักศึกษาภาคปกติ
รักษาสภาพไม่เกิน 2 ภาคการศึกษาติดต่อกัน
ค่ารักษาสภาพก่อนสอบปลายภาคการศึกษา 500 บาท
ค่ารักษาสภาพและคืนสภาพนักศึกษาหลังสอบปลายภาคการศึกษา 2,000 บาท
นักศึกษาภาคกศ.ป.ป.
รักษาสภาพไม่เกิน 3 ภาคการศึกษาติดต่อกัน และจะนับจำนวนภาคการศึกษาที่ลาพักการเรียนรวมด้วยในการพิจารณาการสำเร็จการศึกษาตามที่กำหนด
ค่ารักษาสภาพก่อนสอบปลายภาคการศึกษา 1,000 บาท
ค่ารักษาสภาพและคืนสภาพนักศึกษาหลังสอบปลายภาคการศึกษา 2,000 บาท
ขั้นตอนการเขียนคำร้อง
นักศึกษาเขียนคำร้อง และเสนออาจารย์ที่ปรึกษาให้ความเห็น
นักศึกษายื่นคำร้องที่กองบริการการศึกษาเพื่อให้งานประมวลผลการศึกษาเสนอนายทะเบียน
เสนอผู้อำนวยการกองบริการการศึกษาพิจารณาอนุมัติ
นักศึกษานำคำร้องที่พิจารณาแล้วชำระเงินที่กองคลัง
นักศึกษาส่งคำร้องคืนที่กองบริการการศึกษาพร้อมทั้งแสดงใบเสร็จรับเงิน เพื่อให้งานประมวลผลการศึกษาดำเนินการต่อไป (ถ้านักศึกษาชำระเงินลงทะเบียนในภาคเรียนนั้นแล้วก็ไม่ต้องชำระเงินค่าคืนสภาพ)
การรักษาสภาพต้องกระทำให้เสร็จสิ้นภายในภาคเรียน มิฉะนั้นจะหมดสภาพการเป็นนักศึกษา
มรพส. 2 คำร้องขอถอนรายวิชา
Download คำร้อง มรพส. 2
การขอถอนรายวิชา : การขอถอนรายวิชาต้องกระทำให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยฯ กำหนด (ถอนภายหลังระยะเวลาการถอน จะได้รับอักษร W)
ขั้นตอนการเขียนคำร้อง
นักศึกษากรอกรายละเอียดในคำร้องให้ถูกต้องและสมบูรณ์
เสนออาจารย์ผู้สอนลงนามอนุมัติ
เสนออาจารย์ที่ปรึกษาพิจารณาให้ความเห็น
เสนอนายทะเบียนพิจารณา
เสนอผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา
มรพส. 3 คำร้องขอเทียบรายวิชาเพื่อยกเว้นการเรียน
Download คำร้อง มรพส. 3
การขอเทียบรายวิชาเพื่อยกเว้นการเรียนในวิชานั้น หมายถึง การนำหน่วยกิตของรายวิชาจากหลักสูตรของมหาวิทยาลัยอุดมศึกษาอื่นที่ได้ศึกษามาแล้ว ซึ่งมีเนื้อหาสาระและความยากง่ายเทียบได้ไม่น้อยกว่ารายวิชาในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกัน และได้รับคะแนนไม่ต่ำกว่า C หรือ P
ขั้นตอนการเขียนคำร้อง
นักศึกษากรอกข้อความให้สมบูรณ์ โดยระบุวิชาเก่าและรายวิชาที่ขอเทียบ พร้อมแนบใบรายงานผลการเรียน ( Transcript ) และคำอธิบายรายวิชาที่ขอเทียบ
เสนออาจารย์ที่ปรึกษาให้ความเห็น
เสนอประธานสาขาวิชา พิจารณาให้ความเห็น
เสนอคณะพิจารณาและสั่งการ
นำคำร้องมายื่นที่กองบริการการศึกษา เพื่อเสนอต่อนายทะเบียนและผู้อำนวยการกองบริการการศึกษาพิจารณาอนุมัติ
นักศึกษานำคำร้องที่ได้รับอนุมัติแล้วไปชำระเงินที่กองคลัง
ส่งคำร้องคืนที่กองบริการการศึกษาเพื่อให้งานประมวลผลการศึกษาดำเนินการต่อไป
มรพส. 4 คำร้องขอโอนผลการเรียน
Download คำร้อง มรพส. 4
การโอนผลการเรียน หมายถึง การนำหน่วยกิตและค่าระดับคะแนนของทุกรายวิชาที่เคยศึกษาจากหลักสูตรวิทยาลัยครู หรือหลักสูตรซึ่งอนุมัติโดยสภาการฝึกหัดครู หรือหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏมาใช้โดยไม่ต้องศึกษารายวิชานั้นอีก
เงื่อนไขการโอน ต้องโอนผลการเรียนทั้งหมดทุกรายวิชา โดยไม่จำกัดจำนวนหน่วยกิต ผู้โอนต้องไม่เคยถูกสั่งให้ออกจากสถานศึกษาด้วยการประเมินผลการเรียน หรือความประพฤติเสียหาย
ขั้นตอนการเขียนคำร้อง
นักศึกษากรอกรายละเอียดในคำร้องให้ครบถ้วน และเสนออาจารย์ที่ปรึกษาให้ความเห็น โดยแนบใบรายงานผลการเรียน (Transcript) และต้องกระทำให้เสร็จสิ้นภายในภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา
นักศึกษานำคำร้องมายื่นที่กองบริการการศึกษา เพื่อให้งานประมวลผลการศึกษาเสนอต่อนายทะเบียน
เสนอผู้อำนวยการกองบริการการศึกษาพิจารณาอนุมัติ
นักศึกษานำคำร้องที่ได้รับอนุมัติไปชำระเงินที่กองคลัง
ส่งคำร้องคืนที่ที่กองบริการการศึกษาเพื่อให้งานประมวลผลการศึกษาดำเนินการต่อ
มรพส. 5 คำร้องขอยกเว้นการเรียนรายวิชา
Download คำร้อง มรพส. 5
การยกเว้นการเรียนรายวิชา หมายถึง การยกเว้นการเรียนรายวิชา โดยนำหน่วยกิตของรายวิชาจากหลักสูตรของมหาวิทยาลัย หรือจากหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่มีเนื้อหาสาระความยากง่ายเทียบได้ไม่น้อยกว่ารายวิชาในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และอยู่ในระดับเดียวกันมาใช้โดยไม่ต้องศึกษารายวิชานั้นอีก
ผู้มีสิทธิ์ยกเว้น คือ ผู้สำเร็จการศึกษาหรือเคยศึกษาจากสถาบันราชภัฏหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่น หรือเป็นผู้ผ่านการศึกษาอบรมในรายวิชาใดรายวิชาหนึ่งตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัย
เงื่อนไขการยกเว้น ต้องเป็นรายวิชาที่ได้รับคะแนนไม่ต่ำกว่า C หรือ P เป็นวิชาในระดับการศึกษาเดียวกัน จำนวนหน่วยกิตที่ขอยกเว้นรวมกันไม่เกิน 2 ใน 3 ของหน่วยกิตรวมขั้นต่ำ และไม่เคยถูกให้ออกจากสถานศึกษาเนื่องจากความประพฤติเสียหาย และเมื่อได้รับการยกเว้นแล้วต้องมีเวลาศึกษาอยู่ในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา
ขั้นตอนการเขียนคำร้อง
นักศึกษาเขียนคำร้องและเสนออาจารย์ที่ปรึกษาให้ความเห็น โดยแนบใบรายงานผลการเรียน (Transcript) และต้องกระทำให้เสร็จสิ้นภายในภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา หรือหลังจากได้รับแผนการเรียนแล้ว
นักศึกษานำคำร้องมายื่นที่กองบริการการศึกษาเพื่อให้งานประมวลผลการศึกษาเสนอต่อนายทะเบียน
เสนอผู้อำนวยการกองบริการการศึกษาพิจารณาอนุมัติ
นักศึกษานำคำร้องที่ได้รับอนุมัติแล้ว ไปชำระเงินที่กองคลัง
ส่งคำร้องคืนที่กองบริการการศึกษาพร้อมทั้งแสดงใบเสร็จรับเงินเพื่อให้งานประมวลผลการศึกษาดำเนินการต่อไป
มรพส. 6 คำร้องขอลงทะเบียนเรียนร่วมกับหมู่เรียนอื่น
Download คำร้อง มรพส. 6
เงื่อนไขการขอลงทะเบียนเรียนร่วมกับหมู่เรียนอื่น
นักศึกษาที่จะขอลงทะเบียนเรียนร่วมกับหมู่เรียนอื่น มีเงื่อนไขดังต่อไปนี้้
***กรณี ลงทะเบียนเรียนไม่เกิน 12 หน่วยกิตสำหรับภาคกศ.ป.ป. และ 22 หน่วยกิตสำหรับภาคปกติ***
1. ไม่มีรายวิชาที่ขอลงทะเบียนเรียนในตารางเรียนของหมู่เรียนของตนเอง
2. มีคาบเรียนในวิชาเรียนไม่ซ้อนกัน
3. นักศึกษาต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 2 สัปดาห์นับจากเปิดภาคการศึกษา
***กรณี ลงทะเบียนเรียนเกิน 12 หน่วยกิตสำหรับภาคกศ.ป.ป. และ 22 หน่วยกิตสำหรับภาคปกติ***
1. ไม่มีรายวิชาที่ขอลงทะเบียนเรียนในตารางเรียนของหมู่เรียนของตนเอง
2. มีคาบเรียนในวิชาเรียนไม่ซ้อนกัน
3. เป็นการลงทะเบียนเรียนซ้ำในรายวิชาที่ได้ลำดับขั้น F หรือ U
4. เป็นการลงทะเบียนเรียนซ้ำในรายวิชาที่สอบ ได้ต่ำกว่า C
5. เป็นการลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาสุดท้าย
6. เป็นการลงทะเบียนเรียนวิชาปฏิบัติการ และฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
7. นักศึกษาต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 2 สัปดาห์นับจากเปิดภาคการศึกษา
ขั้นตอนการเขียนคำร้อง
นักศึกษายื่นคำร้องขอลงทะเบียนเรียนร่วมกับหมู่เรียนอื่นและ แนบใบลงทะเบียนเรียนผ่านอินเตอร์เน็ตและตารางเรียนที่ขอเรียนร่วมกับหมู่เรียนอื่น
นักศึกษานำคำร้องเสนออาจารย์ที่ปรึกษาให้ความเห็น
นักศึกษานำคำร้องยื่นที่กองบริการการศึกษาเพื่อเสนอหัวหน้างานจัดการเรียนการสอนให้ความเห็น
เสนอผู้อำนวยการกองบริการการศึกษาพิจารณาอนุมัติ(กรณีลงทะเบียนไม่เกิน 12 หน่วยกิตสำหรับภาคกศ.ป.ป. และไม่เกิน 22 หน่วยกิตสำหรับภาคปกติ)
เสนอคณบดีพิจารณาอนุมัติ (กรณีลงทะเบียนเกิน 12 หน่วยกิต สำหรับภาคกศ.ป.ป. และเกิน 22 หน่วยกิต สำหรับภาคปกติ)
นักศึกษารับคำร้องและใบลงทะเบียนเรียนที่กองบริการการศึกษาการศึกษา
นักศึกษานำคำร้องและใบลงทะเบียนเรียน ไปชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียนที่กองคลัง
ส่งคำร้องขอลงทะเบียนเรียนร่วมกับหมู่อื่นคืนที่กองบริการการศึกษา เพื่อให้งานประมวลผลการศึกษาดำเนินการต่อไป
มรพส. 7 คำร้องขอลงทะเบียนเรียนกรณีพิเศษ (กรณีไม่มีรายวิชาเปิดเรียนในภาคการศึกษานี้)
Download คำร้อง มรพส. 7
การลงทะเบียนกรณีพิเศษ (รายบุคคล)
นักศึกษาที่จะขอลงทะเบียนวิชาเรียนกรณีพิเศษได้ ต้องอยู่ในเงื่อนไขดังต่อไปนี้คือ
1. ไม่มีรายวิชาในตารางเรียน
2. เป็นภาคการศึกษาสุดท้าย
3. เป็นวิชาบังคับต้องเรียน
4. หากนักศึกษาไม่ได้เรียนจะไม่สำเร็จการศึกษา
5. จำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียน ต้องไม่เกินจำนวนที่กรรมการวิชาการกำหนด ภาคปกติ 22 หน่วยกิต , ภาคกศ.ป.ป. (ส. อ.) 12 หน่วยกิต
ขั้นตอนการเขียนคำร้อง
นักศึกษายื่นคำร้องขอลงทะเบียนวิชาเรียนกรณีพิเศษ โดยแนบตารางเรียนจริงในภาคการศึกษานี้
เสนออาจารย์ที่ปรึกษาพิจารณาและลงนาม
เสนอสาขาวิชาที่รับผิดชอบพิจารณา และจัดอาจารย์สอน อาจารย์ผู้สอนรับทราบกำหนดวันเวลาที่เรียน
เสนอคณะที่เป็นเจ้าของรายวิชาพิจารณาสั่งการ
นำคำร้องมายื่นที่กองบริการการศึกษา เพื่อให้งานจัดการเรียนการสอนพิจารณา และนำเสนอผู้อำนวยการกองบริการการศึกษา
ติดตามผลการพิจารณาหลังจากยื่นคำร้องภายใน 7 วัน
นักศึกษานำคำร้องที่ได้รับอนุมัติแล้ว พร้อมกับใบลงทะเบียนวิชาเรียนกรณีพิเศษ ไปชำระเงินที่กองคลัง
นักศึกษานำคำร้อง พร้อมใบลงทะเบียนส่งคืนที่กองบริการการศึกษา เพื่อให้งานประมวลผลการศึกษาดำเนินการ โดยนักศึกษาสำเนาคำร้องพร้อมใบลงทะเบียนส่วนที่ 2 มอบอาจารย์ผู้สอน
มรพส. 8 คำร้องทั่วไป
Download คำร้อง มรพส. 8
ใช้คำร้องทั่วไปในกรณีที่ไม่มีคำร้องเป็นการเฉพาะ
ขั้นตอนการเขียนคำร้อง
นักศึกษาต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และเสนออาจารย์ที่ปรึกษาให้ความเห็น (เฉพาะบางคำร้อง)
เสนอผู้อำนวยการกองบริการการศึกษาและรองอธิการบดีพิจารณา (เฉพาะกรณี)
นำคำร้องที่ผ่านการพิจารณาแล้วชำระเงินที่กองคลัง
นำคำร้องมาส่งคืนที่กองบริการการศึกษา ติดตามผลการพิจารณาหลังจากยื่นคำร้องภายใน 2-3 วัน
มรพส. 8.1 คำร้องขอผ่อนผันการลงทะเบียนเรียนและชำระเงินค่าบำรุงการศึกษาหลังกำหนดมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Download คำร้อง มรพส. 8.1
คำร้องขอผ่อนผันการลงทะเบียนเรียนและชำระเงินค่าบำรุงการศึกษาหลังกำหนด
ขั้นตอนการเขียนคำร้อง
นักศึกษาต้องกรอกข้อความให้สมบูรณ์
ยยื่นคำร้องที่กองบริการการศึกษา ติดตามผลภายใน 2-3 วัน
ให้นักศึกษานำคำร้องพร้อมใบลงทะเบียนไปชำระเงินค่าธรรมเนียมที่กองคลัง
มรพส. 8.2 คำร้องขอผ่อนผันการชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียนและค่าบำรุงการศึกษาแบบแบ่งจ่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
Download คำร้อง มรพส. 8.2
คำร้องขอผ่อนผันการชำระเงินค่าลงทะเบียนเรียนและบำรุงการศึกษาแบบแบ่งจ่าย โดยจะขออนุญาตแบ่งชำระเงินค่าธรรมเนียมการศึกษาออกเป็น 2 งวด
หมายเหตุ
ชำระเงินงวดที่ 1 ในอัตราแรกของค่าบำรุงการศึกษาเหมาจ่าย
ชำระเงินแล้วให้นำคำร้องถ่ายเอกสาร ส่วนที่เป็นตัวจริงเก็บที่งานประมวลผลการศึกษา ส่วนที่เป็นสำเนานักศึกษาเก็บ
งวดที่ 2 ให้นักศึกษารับเอกสารตัวจริงที่งานประมวลผลการศึกษา ชำระเงินที่กองคลังแล้วนำคำร้องส่งคืนที่งานประมวลผลการศึกษา
มรพส. 9 แบบใบลาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
มรพส. 10 คำร้องขอจบการศึกษา (เฉพาะนักศึกษาที่จะจบในภาคการศึกษานี้)
Download คำร้อง มรพส. 10
คำร้องขอจบการศึกษา เฉพาะนักศึกษาที่จะจบการศึกษาในภาคการศึกษานี้
คำชี้แจง
การเขียนคำร้อง ต้องเขียนให้ชัดเจน ตัวบรรจง สะกดการันต์ให้ถูกต้อง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเอง
การเขียนคำนำหน้าชื่อต้องเขียนคำเต็ม ห้ามเขียนคำย่อ เช่น นาย, นาง, นางสาว หรือยศ เช่น สิบตำรวจโท, จ่าสิบเอก, พันจ่าอากาศเอก, ร้อยเอก ผู้ที่เปลี่ยนยศให้แนบหนังสือคำสั่งการเปลี่ยนยศมาด้วย
การเปลี่ยนชื่อ - สกุล ต้องเปลี่ยนก่อนยื่นคำร้องขอสำเร็จการศึกษา พร้อมทั้งนำหลักฐานมาแสดงด้วย
ให้นักศึกษาแนบรูปถ่ายชุดครุย ขนาด 3 x 4 ซ.ม. (1.5 นิ้ว) จำนวน 3 รูป และเขียนชื่อ - ชื่อสกุล สาขาวิชา รหัสประจำตัว รุ่นที่ หลังรูปถ่ายทุกรูปให้เรียบร้อย ให้นักศึกษาดูตัวอย่างการถ่ายรูปที่กองบริการการศึกษา
เขียนคำร้องเสร็จเสนอให้อาจารย์ที่ปรึกษาให้ความเห็น แล้วนำมายื่นที่กองบริการการศึกษา
มรพส. 11 คำร้องขอใบรายงานผลการศึกษา (Transcript)
Download คำร้อง มรพส. 11
คำชี้แจง
กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน
ชำระเงินค่าธรรมเนียม ที่กองคลัง
รูปถ่าย ขาวดำหรือสี ขนาด 3 x 4 ซม. หน้าตรง ชุดละ 1 รูป
กรณียังไม่สำเร็จการศึกษา หรือเรียนครบหลักสูตร ต้องใช้รูปถ่ายชุดนักศึกษาเท่านั้น
กรณีสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี , ปริญญาโท รูปถ่ายสวมชุดครุย ระดับอนุปริญญา ป.กศ.ชั้นสูง รูปถ่ายสวมเสื้อเชิ้ตขาว ติดเครื่องหมาย ผูกเนคไทค์ ไม่สวมแว่นตาดำ ผู้หญิงผมยาวให้รวบผมให้เรียบร้อย
รับใบรายงานผลการศึกษาที่ขอหลังจากยื่นคำร้องอีกประมาณ 2-3 วัน
มรพส. 12 คำร้องขอใบรับรอง
Download คำร้อง มรพส. 12
ขั้นตอนการเขียนคำร้อง
นักศึกษาต้องกรอกข้อมูลให้สมบูรณ์ และเสนออาจารย์ที่ปรึกษาให้ความเห็น เฉพาะขอใบรับรองความประพฤติ
ขอใบรับรองศึกษาครบหลักสูตรรอการอนุมัติ ให้แนบรูปชุดนักศึกษา ขนาด 3x4 เซนติเมตร
ใบแทนใบปริญญาบัตรและใบแทนใบรับรองคุณวุฒิ ให้แนบรูปชุดครุย ขนาด 3x4 เซนติเมตร
ชำระเงินค่าธรรมเนียมที่กองคลัง
นำคำร้องมาคืนที่กองบริการการศึกษา ติดตามผลการดำเนินการหลังจากยื่นคำร้องภายใน 2-3 วัน
มรพส. 13 คำร้องขอคำอธิบายรายวิชาเรียน
Download คำร้อง มรพส. 13
ขั้นตอนการเขียนคำร้อง
นักศึกษาต้องกรอกข้อมูลให้สมบูรณ์
นักศึกษานำคำร้องไปชำระเงินที่กองคลังแล้วยื่นที่กองบริการการศึกษา เพื่อให้งานทะเบียนและสถิติดำเนินการต่อไป
ติดตามผลหลังจากยื่นคำร้องภายใน 2-3 วัน
มรพส. 14 คำร้องขอลาออก
Download คำร้อง มรพส. 14
ขั้นตอนการเขียนคำร้อง
นักศึกษาต้องกรอกข้อมูลให้สมบูรณ์ เสนออาจารย์ที่ปรึกษาให้ความเห็น สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และกองพัฒนานักศึกษา
นักศึกษานำคำร้องยื่นที่กองบริการการศึกษา และนำคำร้องไปชำระเงินค่าธรรมเนียมที่กองคลัง (ให้นำใบเสร็จค่าธรรมเนียมแรกเข้าของการเป็นนักศึกษาแนบมาด้วย จะได้รับเงินคืน 500 บาท)
นำคำร้องมาส่งที่กองบริการการศึกษาเพื่อให้งานทะเบียนและสถิติดำเนินการ
มรพส. 15 คำร้องขอสิทธิ์สอบปลายภาค (มีเวลาเรียน 60% - 80%)
Download คำร้อง มรพส. 15
การขอสิทธิ์สอบปลายภาคในกรณีมีเวลาเรียนไม่พอ
หมายความว่า นักศึกษาที่มีเวลาเรียนในรายวิชาน้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด หรือมีเวลาเรียนในรายวิชาน้อยกว่าร้อยละ 80 แต่ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 60
ขั้นตอนการเขียนคำร้อง
นักศึกษายื่นคำร้องขอสิทธิ์สอบปลายภาคโดยให้อาจารย์ผู้สอนแจ้งเวลาเรียนที่นักศึกษาเข้าเรียนจริงภายในเวลา 1 สัปดาห์ก่อนสอบ
นำคำร้องยื่นที่กองบริการการศึกษา
นำคำร้องเสนอกรรมการประจำคณะพิจารณา ถ้าผลการพิจารณาไม่ให้สิทธิ์สอบ นักศึกษาจะต้องมีผลการเรียนเป็น F หรืออาจจะได้รับอนุญาตให้ยกเลิกรายวิชาถ้ามีเหตุจำเป็นและสมควรก่อนสอบ
อาจารย์ผู้สอนและนักศึกษารับทราบผลการพิจารณา
มรพส. 16 คำร้องขอสอบปลายภาค (กรณีขาดสอบปลายภาคการศึกษา)
Download คำร้อง มรพส. 16
การขอสอบปลายภาคในกรณีขาดสอบ
- นักศึกษาที่ขาดสอบปลายภาคด้วยสาเหตุต่างๆ ให้ยื่นคำร้องขอสอบพร้อมหลักฐานและเหตุผล
- อาจารย์ที่ปรึกษาพิจารณา เห็นสมควรให้สอบหรือไม่สมควรให้สอบ
- คณบดีที่วิชานั้นสังกัดอยู่พิจารณา ว่าเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สอบหรือไม่สมควรให้สอบ
- แจ้งผลการพิจารณาให้อาจารย์ผู้สอนทราบและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนการเขียนคำร้อง
นักศึกษากรอกข้อความให้สมบูรณ์ พร้อมแนบหลักฐานประกอบการพิจารณา
ยื่นเรื่องคำร้องที่ฝ่ายรับคำร้อง
เมื่อทราบผลการพิจารณาแล้ว นำไปแจ้งอาจารย์ผู้สอนดำเนินการสอบ
มรพส. 17 คำร้องขอทำบัตรประจำตัวนักศึกษา
Download คำร้อง มรพส. 17
หมายเหตุ: (ต้องแต่งกายด้วยชุดนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เท่านั้น)
- นักศึกษาชายผูกเนคไทมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
- นักศึกษาหญิงติดเข็มตรามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
- โปรดเตรียมบัตรประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนาบัตรไปด้วย
ขั้นตอนการเขียนคำร้อง
นักศึกษากรอกคำร้องให้ครบถ้วน แล้วยื่นที่กองบริการการศึกษา เพื่อให้เจ้าหน้าที่ประทับตรามหาวิทยาลัยฯ
ให้นักศึกษานำคำร้องไปติดต่อที่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด มหาชน สาขาเซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก (ต้องแต่งกายด้วยชุดนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เท่านั้น)
มรพส. 18 คำร้องขอเลื่อนการรับพระราชทานปริญญาบัตร
Download คำร้อง มรพส. 18
- การขอเลื่อนการรับพระราชทานปริญญาบัตรสามารถทำได้ 1 ครั้งเท่านั้น
- กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้วนำไปยื่นที่กองบริการการศึกษา เพื่อให้งานทะเบียนและสถิติดำเนินการ
มรพส. 19 คำร้องขอย้ายสาขาวิชา
Download คำร้อง มรพส. 19
ขั้นตอนการขอย้ายคณะ สาขาวิชา
สำหรับนักศึกษา
กรอกคำร้องฯ ให้ครบถ้วน
นำคำร้องเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเดิม
นำคำร้องเสนอต่อคณบดีคณะเดิม
นักศึกษานำคำร้องส่งที่กองบริการการศึกษา
สำหรับเจ้าหน้าที่
กองบริการการศึกษาดำเนินการรวบรวมเอกสารและส่งให้กับคณะต่างๆ เพื่อพิจารณาการขอย้ายสาขาวิชา
คณะต่างๆ ส่งคำร้องกลับมายังกองบริการการศึกษาภายหลังจากพิจารณาการขอย้ายสาขาวิชาเรียบร้อยแล้ว
กองบริการการศึกษาประกาศผลการย้ายสาขาวิชา
นักศึกษาติดต่อขอรับคำร้องที่กองบริการการศึกษาและนำคำร้อง ไปชำระค่าธรรมเนียมการย้ายสาขาวิชาจำนวนเงิน 100 บาท ณ กองคลัง
นักศึกษารายงานตัวเป็นนักศึกษาใหม่ พร้อมทั้งส่งหลักฐานในการรายงานตัว ได้แก่
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว (ติดใบรายงานตัว)
- สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ (รับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (รับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย)
- สำเนาหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) 2 ฉบับ